top of page

ARTIST vs COMMERCIAL



Pokpong Jitdee (Pong) Senior Music composer


ป้องเรียนจบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นผู้ก่อตั้งวง Plastic Plastic เขาหันมาทำอาชีพนักแต่งเพลงโฆษณาเต็มตัวเพราะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ถนัดและชอบมากกว่า “สมมติคะแนนสถาปัตย์ผมได้ 7 แต่ดนตรีได้ 8 อ้าว ผมก็ทำดนตรีสิวะ!”


 


3 งานต่อปี

“ผลงานที่ภูมิใจคือผลงานที่เราทำโดยไม่ฝืน เป็นผลงานที่ลูกค้าชอบในสิ่งที่เราถนัด เป็นงานที่ส่งดราฟต์แรกไปแล้วไม่ค่อยมีคอมเมนต์ เพราะส่วนใหญ่ดราฟต์แรกจะเป็นสิ่งที่เราคิดว่าดีอยู่แล้ว แต่ไม่ค่อยมีหรอก งานโฆษณามันต้องคุยกันหลายฝ่าย ปีนึงน่าจะมีสัก 3 งานได้ที่เสนอครั้งแรกแล้วผ่านเลย แต่ไม่ใช่ว่างานที่ต้องแก้ไม่ดี เพราะงานโฆษณามันประกอบด้วยหลายส่วน ไม่ได้มีแค่เพลงอย่างเดียว”



ผลงานที่ภูมิใจคือผลงานที่เราทำโดยไม่ฝืน เป็นผลงานที่ลูกค้าชอบในสิ่งที่เราถนัด

เสียตัวตน

“เราไม่เคยรู้สึกเสียความเป็นศิลปินตอนทำงานโฆษณาเลย เพราะเรามองดนตรีเป็นหนึ่งพาร์ท ส่วนงานโฆษณาก็เป็นอีกพาร์ทหนึ่ง วิธีคิดอาจจะกลับกันนิดหน่อย งานเพลงทั่วไป เพลงแม่งสำคัญสุด เอ็มวีหรืออะไรอื่นๆ ตามมาทีหลัง แต่โฆษณา ภาพต้องมาก่อนแล้วดนตรีถึงมาประกอบ


“เวลาได้โจทย์มาเราเลยใส่ความเป็นตัวเองเข้าไปในงานโดยไม่รู้ตัว โดยไม่ได้มานั่งคิดว่า กูต้องใส่ตัวตนเข้าไปว่ะ ถ้าโจทย์มันคือกีต้าร์เพลง Post-Rock เราจะเล่นแบบนี้ จะไม่เหมือนกับอีกคน มันเลยเป็นลายเซ็นต์ที่อาจจะทำให้คนจำได้บ้าง ถ้ามีคอมเมนต์ว่า ‘กีต้าร์แหลมไป’ แหลมของเรากับแหลมคนอื่นก็ไม่เหมือนกันแล้ว”


แก้งานแบบศิลปิน

“เราติดวิธีแก้งานจากการทำเพลงมาเยอะ ถ้าคนอื่นแก้งานจะเป็นแบบ กูตัดออกเลย หรืออาจโน้มน้าวลูกค้าดูก่อน ส่วนเราจะลองคิดก่อนว่าถ้าลูกค้าต้องการอารมณ์แบบนี้ ลองเปลี่ยนคีย์ให้สูงขึ้นก่อนไหม ซึ่งก็อาจจะตอบโจทย์ลูกค้าได้เหมือนกัน


“เราจะพยายามคิดทุกงานให้เป็นฝั่งอาร์ตให้ได้มากที่สุด ถ้าทำได้เราจะพยายามคิดให้เหมือนตอนทำเพลง ความละเอียดอ่อนมันจะต่างกัน เวลาทำเพลงตัวเองจะไม่ค่อยปล่อย มันรวมไปถึงการเลือกซาวนด์ เลือกเครื่องดนตรี พอคิดแบบนี้คุณค่าของงานที่ได้ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง”

Comments


bottom of page